สุขภาพของต้นไม้ใหญ่ ทำไมจึงสำคัญ?
ถ้าไม่เกิดความสูญเสียดังเช่ นกรณี “ต้นยางนา” 14 ต้น ล้มทับบ้านเรือนใน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ก็คงไม่มีใครหันมาใส่ใจกับ “สุขภาพต้นไม้” ซึ่งเค้าก็เหมือนมนุษย์ยามสูงวั ย ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บเป็นธรรมดา ถึงเวลาตรวจสุขภาพ เพื่อให้รู้ว่าปัญหาเกิ ดจากอะไร…
กลุ่ม BIG Trees องค์กรภาคประชาสังคมที่เห็ นความสำคัญของต้นไม้ใหญ่และมีอุ ดมการณ์เรื่องสิ่งแวดล้อม คุณสันติ โอภาสปกรณ์กิจ ผู้ประสานงานกลุ่มบิ๊กทรีส์ ระบุว่า ทางกลุ่มบิ๊กทรีส์ร่วมกับเครื อข่ายเชียงใหม่เขียวสวยหอม องค์กรเครือข่ายในพื้นที่ และอาสาสมัคร เคยเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสุ ขภาพของต้นยางนาขนาดใหญ่ ในอำเภอสารภี มาก่อน พร้อมทำความเข้าใจกั บเทศบาลและอบจ.เชียงใหม่ แต่เราดำเนินการไปได้เพียงส่ วนหนึ่งเท่านั้ นเพราะงบประมาณจำกัด
“กลุ่มบิ๊กทรีส์ สำรวจไปเพียง 20% ของต้นยางนาทั้งหมดกว่า 1,000 ต้น ส่วนอีก 80% ยังไม่ได้ดำเนินการเพราะทางท้ องถิ่นติดขัดเรื่องงบประมาณ เมื่อไม่ครบจึงไม่สามารถทำให้ต้ นไม้แข็งแรงเหมือนเดิมได้ทั้ งหมด เราจึงอยากเห็นทางท้องถิ่นเข้ ามาดูแลต่อและสำรวจให้ครบโดยเร็ วในอนาคต”
จากการศึกษาของกลุ่มบิ๊กทรีส์ พบต้นยางนาอยู่ในสภาพไม่แข็ งแรงอย่างเห็นได้ชัดประมาณ 100 ต้น
“แต่ที่มีปัญหามากๆ คือ 50 ต้น ถึงขั้นแย่แล้ว เพราะใบเหลือน้อย เทศบาลก็ต้องมีการตัดแต่งใบด้ านบนให้น้ำหนักลดลงและอาจจะใช้ เสียมลมเมื่อจำเป็นต้องขยั บขยายรากที่ถูกถนนหรื อยางมะตอยเททับลงไปบนพื้นผิว”
#ต้นยางนา อายุมากถ้าอยากให้อยู่นานๆ ต้องดูแลรักษา
หากเปรียบต้นไม้เป็นชีวิตคนเรา ต้นยางนาที่อยู่มานับร้อยปี อาจยังแข็งแรงได้ ถ้าดูแลสุขภาพเค้าดีเพียงพอ แม้จะไม่แกร่งเท่าคนวัยหนุ่ มสาวก็ตาม โดยสิ่งที่ คุณสันติ สำรวจพบคือ “ต้นยางนาเหล่านี้กลับเป็นดั งเช่นคนชราหรือคนที่กินข้าวไม่ พอ เค้าก็จะป่วย ถ้าไม่ป่วยก็เหมือนคนที่อายุ 40-50 ปี แต่ดูสภาพเหมือนคนแก่อายุ 60-70 ปีเข้าแล้ว ดังนั้น ถ้าเราไม่รักษาเค้าดีๆ จะค่อยๆ ตายไปเรื่อยๆ แต่ถ้ามีการรักษาที่ดีก็จะอยู่ จนถึงอายุ 90-100 ปีได้”
จริงๆ แล้ว ต้นไม้ทุกต้นมีชีวิตและมีปฏิกิ ริยาต่อความเจริญที่รุกล้ำพวกมั นตลอดเวลา กล่าวคือจะทยอยมีปัญหาที่ ระบบรากหรือลำต้น สะสมไปเรื่อยๆ นิสัยของต้นไม้จะไม่เหมือนคน ที่ป่วยไข้แล้วล้มหมอนนอนเสื่ อทันที แต่ต้นไม้จะมีอาการปีละ 5% ปีที่สองอีก 5-10% ปีที่สาม 10-20% และพอปีที่ 5 เราก็จะเห็นชัดเจนถึงความไม่ สมบูรณ์ของเค้า ทางใบ กิ่ง ก้าน และนำไปสู่การโค่นล้มได้
ข้อแนะนำสำหรับการรักษาอาการป่ วย คุณสันติ ระบุว่า อย่างแรกก็คือจะต้องรื้ อยางมะตอยกับปูนซีเมนต์ที่เททับ ปิดบังการเติบโตของรากบริ เวณโคนต้นออกไป เพื่อให้น้ำและอากาศถ่ายเท หายใจได้สะดวก ซึ่งเราสามารถใช้วัสดุอื่ นทดแทนเช่นอิฐที่มีรูพรุน ปลูกหญ้าตรงกลาง เพื่อให้รากและน้ำมีช่ องทางระบาย ไม่อุ้มน้ำไว้มาก สามารถรับแดดได้โดยตรง ไม่เช่นนั้นระบบรากจะเสียหายหนั กและเมื่อฝนตกจะอุ้มน้ำ ยามเกิดลมแรง ฝนพายุขึ้นมา จะเหมือนเช่นวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา รากก็ยึดเกาะเอาไว้ไม่อยู่ เพราะรากได้หดตัวลงเรื่อยๆ จากที่ควรมีรากแผ่กว้าง 10 เมตร อาจจะเหลือแค่ 2 เมตรเท่านั้น
“ต้นไม้ใหญ่อย่างต้นยางนาสูง 30-40 เมตร จำเป็นต้องมีรากยึดเกาะที่กว้ างใหญ่พอสมควร แต่เมื่อรัฐนำปู นและยางมะตอยราดทับไปเพื่อสร้ างถนนหรือทางจอดรถ รากที่เคยมีนับ 10 เมตรจะหดตัว เพราะน้ำและออกซิเจนลงไปไม่ได้ บวกกับปัญหากิ่งก้านใบด้านบนซึ่ งเราไม่เคยลดน้ำหนักหรือตั ดทอนลงมา ก็มีโอกาสที่จะทำให้ต้นยางนาล้ มโค่นได้”
#รุกขกร เข้าช่วยแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
ดังนั้น เราจะเห็นข่าวว่า ต้นยางนาริมถนนที่ใกล้ชิดกับบ้ านเรือนประชาชนเกิดปัญหาล้มเช่ นนี้ทุกๆ 4-5 ปี เพราะด้วยความสูงขนาดนั้น เทศบาลจะใช้วิธีการค้ำยันก็ คงทำได้ลำบาก
“รัฐจึงต้องแก้ปัญหาที่การลดน้ำ หนักด้านบน ทอนต้นไม้ลงมาให้สั้น ไม่สูงเกินไป แต่ไม่ใช่การตัดจนกุดหมด และสร้างระบบรากใหม่ ให้แผ่ขยายออกเป็นสำคัญ เมื่อรากแข็งแรงต้นจะไม่ล้ม ”
อุทาหรณ์สำคัญจากเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น คุณสันติ มองว่า ถึงเวลาแล้วที่ท้องถิ่นหรือจั งหวัดต้องลงมาแก้ไขจริงจัง เพิ่มงบประมาณให้เพียงพอ เพราะการสำรวจสุขภาพต้นไม้ 1,000 ต้น ต้องใช้เวลาเป็นปีๆ
ปัจจุบันประเทศไทยมี “รุกขกร” ผู้มีความรู้ในการดูแลรักษาต้ นไม้ใหญ่ สามารถช่วยดำเนินการได้ พร้อมสลับทีม “แตะมือ” กันลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ถ้าพบว่าต้นไม้ต้นไหนสภาพเสี ยหายไม่เฉพาะแต่รากเท่านั้น ยังรวมถึงปัญหาแกน ปลวก แมลง และเชื้อรา ก็จะต้องใช้เครื่องมือหนักช่ วยแก้ไขเพื่อฟื้นฟูเยียวยาต้ นยางนาที่มีคุณค่าทางประวัติ ศาสตร์ ให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิมอีกครั้ ง
#ต้นยางนา #อำเภอสารภี #เชียงใหม่ #กลุ่มบิ๊กทรี #รุกขกร