ได้กล่าวมาแล้ว 2 ตอนต่อเนื่องเกี่ยวกับ การสร้างสุขด้วยสติ ที่กรมสุขภาพจิตโปรโมทร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายติดต่อกันมาหลายปี เราได้มีโอกาสพูดคุยกับ นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2561 ท่ามกลางสถานการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบไม่เว้นแต่ละวัน ที่กรมสุขภาพจิตแก้ไข เป็นรายเคส และในเชิงระบบ เพื่อเยียวยาจิตใจ “คน” ที่อ่อนแอลง สวนทางความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 

ข่าวเด็กนักเรียนสอบตกจนคิดฆ่าตัวตายครั้งแล้วครั้งเล่า หรือนักเรียนแพทย์ซึ่งมีผลการเรียนดีฆ่าตัวตายสำเร็จ เรื่องเศร้าที่เกิดกับอนาคตชาติที่เกิดขึ้นวันนี้อาจไม่ใช่รายสุดท้ายที่จะได้ยินได้ฟัง ตราบใดที่เด็กยังเป็นผู้แบกระบบศึกษาที่ชี้วัดชะตากันด้วยการสอบแข่งขัน และแบกความคาดหวังของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ตีค่าความดีของบุตรหลานด้วยการเปรียบเทียบกับครอบครัวอื่น  

ขนานกันไปกับสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนน ที่เกิดขึ้นหนักเบาไม่เว้นแต่ละวันเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึงอีกไม่กี่วันนี้ เหล่านี้สาเหตุสำคัญมาจากการขาด สติ กำกับความคิดและการกระทำทั้งสิ้น   

กรมสุขภาพจิตจึงมีโปรแกรม “สติบำบัด” เพื่องานเยียวยารักษาผู้ป่วยภาวะต่างๆ อาทิ ซึมเศร้า วิตกกังวล รวมถึงใช้แก้กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง หรือ NCDs  อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ ที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งแน่นอนว่า “สติ” จะมาช่วยให้เกิดการปรับเปลี่ยนการบริโภคให้ไปสู่วิถีสุขภาพได้อย่างดี  

นพ.ยงยุทธ ระบุว่า ระบบกำลัง setting เพื่อให้ “สติบำบัด” ถูกวางเป็นระบบการรักษาปกติในโรงพยาบาลต่างๆ ให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องเผยแพร่ทางสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนรับทราบสิทธิ และเรียกร้องการรักษาด้วยสติบำบัด 

นอกจากนี้การโปรโมทการนำ “สติ” ไปใช้ในชีวิตผ่าน โปรแกรม “สติในองค์กร” หรือ “Mindfulness in Organization ; MIO” ก็จะดำเนินต่อไป ปี 2561-2563 จะเป็นอีก 3 ปีที่กรมสุขภาพจิตร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำ MIO ขยายไปใช้ในโรงเรียน และสถานประกอบการ รวมถึงโรงพยาบาล หลังจาก 3 ปีแรกนำร่องในโรงพยาบาล และสถานประกอบการที่สนใจ ราว 20 แห่ง พบว่าได้ผลดี  

พิสูจน์แล้วว่า โปรแกรมการฝึกสติและสมาธิเป็นประจำสม่ำเสมอทุกวัน ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 10 เรื่องสำคัญ ก็คือ 1.ควบคุมการทำงานของร่างกายส่วนต่างๆได้ดีขึ้น 2.สมองส่วนต่างๆสามารถติดต่อสื่อสารกันได้มีประสิทธิภาพ 3.ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น และแสดงออกอย่างระมัดระวังมากขึ้น 4.มีความยึดหยุ่นมากขึ้น ทั้งในมุมมองต่อโลกและการดำเนินชีวิต

5.เห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น 6.ตระหนักรู้ตัวเอง และสามารถพัฒนาตัวเองได้ดีขึ้น 7.ควบคุมความกลัวได้ดี ทำให้มีความกล้ามากขึ้น 8.มีความสามารถในการหยั่งรู้โดยสัญชาติญาณ 9.มีคุณธรรม 10.มีเมตตาต่อตนเองและผู้อื่น 

ดังนั้นหากโรงเรียนนำ MIO ไปใช้ ทั้งครูและเด็กก็จะผ่านการฝึกสติสมาธิเป็นประจำทั้งฝึกนั่งสมาธิโดยตรง และฝึกผ่านการเรียนการรสอน ภูมิต้านทานทางอารมณ์ของครูและเด็กจะมีมากขึ้นตามมา เมื่อประสบปัญหาใดก็เชื่อว่าจะมี “สติ” กำกับการกระทำของตนเองเสมอ  

องค์กรไหนเป็นองค์กรที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับการบริการสาธาระด้วย ก็จะยิ่งส่งผลดีเช่นเดียวกัน อาทิ บริษัท ขนส่ง จำกัด  (บขส.) ก็จะส่งเสริมให้พนักงานทุกคน โดยเฉพาะพนักงานขับรถสาธารณะใช้ สติกำกับการขับรถอยู่ทุกเมื่อ โอกาสของการเกิดอุบัติเหตุก็จะลดลงได้ในที่สุด 

How to พัฒนาสติได้อย่างไร มีขั้นตอน ดังนี้  

สติ

สติ

สติ

ฝึกสมาธิ ทุกๆวัน วันละ 10-30 นาที พร้อมด้วย Body Scan และ Labeling รวมถึงแผ่เมตตาและให้อภัยผู้อืนเป็นประจำ วันหนึ่งจะพบว่า “เราได้เปลี่ยนแปลง”  ไปแล้ว ….ท้าพิสูจน์ !!!!