Start-up-ผู้นำร้านยา-3,000-แห่ง ก้าวสู่มิติใหม่ Digital Pharmacy

โดย | ก.ย. 5, 2021 | Human-Inspire

“เทคโนโลยีเราสู้ต่างประเทศได้ แต่สิ่งที่ตามไม่ทัน ก็คือโครงสร้างระบบสาธารณสุข” ร้านยา และ เภสัชกรชุมชน ยังถูกมองข้ามทั้งที่เป็นกลไกสำคัญ ทำให้คนไทยเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่า Healthcare for all คุณธีระ กนกกาญจนรัตน์ CEO บริษัท อรินแคร์ จำกัด ผู้นำร้านยา 3,000 แห่ง และเภสัชกรชุมชนอีก 4,000 คน ก้าวสู่มิติใหม่ Digital Pharmacy

Real Inspire : การเติบโตของ ARINCARE ในช่วงที่ผ่านมา

คุณธีระ : ปีที่ผ่านมาถามว่าอัตราเติบโตดีมั้ย? ในเชิงแพลทฟอร์มทำให้คนตระหนักถึงความสำคัญมากขึ้นหันมาใช้งานมากขึ้น แต่ทุกบริษัท รวมถึงอรินแคร์ด้วยล้วนได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ไม่สามารถเติบโตตามเป้าได้เพราะมีอุปสรรคการทำงาน

Real Inspire : แพลตฟอร์ม ARINCARE ถือว่าตอบโจทย์สถานการณ์ปัจจุบันอย่างไรบ้าง

คุณธีระ : งานของเราแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ส่วนแรกคือ Digital Transformation สำหรับร้านขายยาและเภสัชกรชุมชน ส่วนนี้เราเป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนงานประจำแบบเดิมๆ ซึ่งเคยใช้กระดาษหมดเลย มาให้ระบบดิจิทัลที่มีความแม่นยำมากขึ้น ส่วนที่สองนะครับ คือเรื่องของ Platform ที่เราเชื่อมต่อระหว่างร้านขายยาเหล่านี้กับบริษัทยาและซับพลายเออร์ได้ดีมากขึ้น ซึ่งตรงนี้เกิดจาก Painpoint ว่าเมื่อก่อนเราจะได้ยินว่าร้านขายยา กว่าจะได้ยาต้องมีผู้แทนยาหรือเซลล์ เพราะยาเป็นสินค้าควบคุมมีความอ่อนไหวสูง เราไม่สามารถทำอีคอมเมอร์ซทั่วไปเหมือนคอนซูมเมอร์โปรดักส์ได้ เราเห็นจุดที่ต้องแก้ไข 2 อย่าง คือร้านขายยาขนาดเล็ก ร้านขายยาห่างไกล มีความยากลำบากในการเข้าถึงยาต้นทุนมันสูงขึ้น แพลตฟอร์มของอรินแคร์คือการทำคอนเน็คชั่นระหว่างเภสัชกรชุมชนและเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือเจ้าของบริษัทยา แล้วส่วนที่สาม ตอบโจทย์สถานการณ์ในตอนนี้คือเรื่องของ Telepharmacy จากตอนแรกเราช่วยเภสัชกรทำงานหลังบ้านใช่มั้ยครับ ทำเวิร์คโฟลว์ให้ดีขึ้น เชื่อมต่อระหว่าง Pharmacist กับ Pharmaceutical ก็คือบริษัทยา ในเรื่องสุดท้ายของเทเลฟาร์มาซี มันคือการเชื่อมต่อกับ Patient  ถ้าคนไข้ได้รับการบริบาลจากเภสัชกรได้โดยที่เค้าไม่ต้องไปที่ร้านยาได้มั้ย ถ้าการบริการมันเสี่ยง เรามีเครื่องมือไหนบ้างที่ทำให้บริการมันปลอดภัย ก็เป็นไปตามข้อกฎหมายหรือข้อแนะนำของสภาเภสัช ก็จะเป็นสามองค์ประกอบที่อยู่ในแพลตฟอร์มของอรินแคร์ครับ

eal Inspire  : ARINCARE เป็นโปรแกรมที่ช่วยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

คุณธีระ : ถ้ามองในเชิงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา Connect ในสามจุดหลักๆ Pharmacist Pharmaceutical Patient ถามว่าครบมั้ย จริงๆในส่วนของเราเองคิดว่าครบแล้ว แต่ในเรื่องการพัฒนายังมีแนวทางใหม่ๆ ที่เราเตรียมผลักดันออกมาให้อีกนะครับ

Real Inspire : Pharmacist ที่ใช้บริการ ARINCARE เป็นร้านขายยาหรือสถานพยาบาล

คุณธีระ : ที่จริงคือทั้งหมดเลยครับ จุดเริ่มเดิมเราโฟกัสเภสัชกรชุมชนที่อยู่ในร้านขายยา แต่ปัจจุบันเรามีเภสัชกรที่อยู่ในสถานพยาบาลด้วย เรามี user ที่เป็น รพ.สต. ด้วย เป็นเภสัชกรในโรงพยาบาลเล็กๆในตำบลที่เค้าต้องการซอฟท์แวร์ไปบริหารเรื่องคลังยาก็มี หรือแม้แต่เรื่องโควิด-19 โรงพยาบาลสนามก็มีการใช้อรินแคร์ในการบริหารคลังยาในรพ.สนามด้วย เช่น อย่างของที่จุฬาฯ ทีมเภสัชกรรมที่เค้าดูแลการจ่ายยาให้ผู้ป่วยก็มีการขอนำระบบอรินแคร์ไปช่วยในการบริหาร เนื่องจาก Pharmacist ของเราไม่จำกัดเฉพาะร้านยาแล้ว 

Real Inspire :  ความเหลื่อมล้ำของระบบ Digital Pharmacy ของไทยและต่างประเทศ

คุณธีระ :  ผมคิดว่าในเชิงเทคโนโลยีที่เป็น Tech ถ้าเป็นระบบของอรินแคร์เราบอกได้ว่าเรา on par นะครับ สูสีสู้ได้เลยกับต่างประเทศ เมื่อ 2-3 ปีก่อนเราไปประกวดชนะเลิศที่เวทีเอเชียแปซิฟิคมาแล้ว และก็ได้รับรอง ISO ด้วย เรื่องเทคโนโลยีเราสู้ต่างประเทศได้แต่ที่ตามไม่ทันคือเรื่องของโครงสร้างเพราะพอเราพูดถึงระบบสาธารณสุข ทุกคนทำงานร่วมกันหมด การดูแลคนไข้ไม่ได้แค่ที่ร้านยาแต่มันต้องเริ่มจากคนไข้มีประวัติไปรักษาที่โรงพยาบาล ไปสถานพยาบาล คลินิกแล้วไปที่ร้านยา ปัจจุบันมันจะล้อไปกับระบบสาธารณสุขบ้านเรา ถ้าผมพูดตรงๆคือต่างคนต่างทำ แต่ในต่างประเทศระบบ Healthcare เรื่องการดูแลประชาชนถูกเชื่อมต่อถึงกันหมด ถ้าสมมุติว่าเราไปรพ.เพื่อรักษา ร้านยาเค้าสามารถ Acess ก่อนจะจ่ายยาได้เพื่อเช็คว่าผู้ป่วยคนนี้เป็นอย่างไรบ้าง มีประวัติการใช้ยาผิดปกติหรือเปล่า หรือโรงพยาบาลเองเมื่อผู้ป่วยได้รับยาจากร้านยาแล้ว ก็สามารถดูได้เลยว่าล่าสุดเค้าไปรับยาที่ไหน ถ้ามีอาการมีอะไรเค้าก็ช่วยสอบสวนและดูแลคนไข้ได้ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ ผมยังไม่นับเรื่องของระบบประกันสังคม ระบบเฮลท์แคร์ต่างๆ นะครับ สิทธิประโยชน์ต่างๆที่ดูแล ถ้าเป็นต่างประเทศเราเห็นแล้วว่าระบบต่างๆ มันเชื่อมถึงกันหมด แล้วคนที่ได้รับประโยชน์ตรงนี้ก็คือประชาชน แต่ของเมืองไทยต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการพัฒนาหรือการ catch up

Real Inspire : ปัจจุบันลูกค้าที่ใช้แพลตฟอร์ม ARINCARE มีมากน้อยแค่ไหน 

คุณธีระ : ล่าสุด ดูประมาณต้นไตรมาสตอนนี้มีประมาณเกือบ 3,000 ร้าน อันนี้ที่เป็นร้านขายยานะครับ แต่ถ้าเป็น เภสัชกรที่อยู่ในเครือข่ายของเราก็น่าจะประมาณเกือบ 4,000 ราย ส่วนเรื่องของฟีดแบ็คจะแบ่งเป็น 2 อย่าง ส่วนใหญ่ user ที่ใช้ของเราแล้วก็ไม่ได้เปลี่ยน เพราะของเราทำงานทำระบบที่ล้อไปกับของเค้าเลย แต่ก็จะมี user บางกลุ่ม เราก็เข้าใจเค้านะครับ การที่เปลี่ยนจากระบบอนาล็อคมาเป็นดิจิทัล มันอาจจะมีความท้าทายอยู่ เพราะฉะนั้นจะเป็นว่า user ที่ใช้อรินแคร์อยู่แล้วส่วนใหญ่จะไม่ได้เปลี่ยน แต่ user ที่ไม่ได้ใ้ช้เนี่ย จะไม่ใช้ระบบอะไรเลย ต้องให้เวลาเค้านิดนึงในการปรับตัว แล้วก็ใช้เทคโนโลยีมาช่วยงานครับ

Real Inspire :  ขณะนี้เจนเนอเรชั่นเจ้าของธุรกิจร้านยาถือว่าเปลี่ยนไปแล้ว

คุณธีระ :  ส่วนใหญ่เป็นร้านยาทั้งเกิดใหม่และขึ้นกับช่วงเจนเนอเรชั่น ช่วง Gap อายุของเจ้าของด้วย ลูกค้าเราเป็นเอสเอ็มอี ร้านชุมขนจริงๆ ตรงนี้มีแนวโน้มความเปลี่นแปลงเข้ามาพอสมควร เพราะโดยกฎหมายของ อย. ตัวนึง เรียกว่า GPP Good Pharmacy Practice ซึ่งก่อนโควิดจะมีผลบังคับใช้เต็มที่ในปี 2565 ซึ่งหนึ่งในนั้นร้านยาทุกร้านที่จะขอใบอนุญาตจะมีการนำระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ เพราะฉะนั้น มันจะกลายเป็นว่าโดยดั้งเดิมแล้วเนี่ย ความตั้งใจของอย.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ พอปี 2565 ร้านยาต้องมีการดิจิไทซ์ หรือ เปลี่ยนมาเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มในบางส่วน แต่ตอนนี้พอโควิดมาปุ๊บเนี่ย ผมคิดว่าอาจจะมีการดีเลย์ในเรื่องกฎหมายบังคับใช้อาจจะดีเลย์ไปซักปีสองปี แต่ในทางปฏิบัติร้านยากลับมาใช้ได้เร็วขึ้น ปรับตัวได้เร็วขึ้น ด้วยสถานการณ์ที่บีบรัด

Real Inspire : ร้านยาต้องทำรายงานส่ง อย. ทุกเดือน ระบบดิจิทัลจึงช่วยตอบโจทย์

คุณธีระ : ทุกเดือนยาที่เป็นยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษต้องมีการทำรายงานส่งไปที่ อย. ถ้า user ของเราเต็มที่แล้วเนี่ยเรื่องการรายงานนี่มัน Seamless ไปเลย ระหว่างที่เค้าจ่ายยาให้คนไข้ กรอกข้อมูลไป ระบบทำรายงานให้เสร็จเลยครับ ออโต้เลย ตอนสิ้นเดือนปุ๊บก็กดดูสรุป ก่อนส่ง เช็คความถูกต้อง แล้วก็ส่งได้เลย ลดเวลาไปได้มาก ส่วนใหญ่ก่อน ดั้งเดิม คือร้านขายยาและเภสัชกรทุกเดือนเค้าต้องสรุปรายงานของทั้งเดือนแล้วเขียน แต่ตอนนี้ปัจจุบันไม่ใช่แค่ออโต้…แล้วไม่ใช่แค่ไม่ต้องเขียน ไม่ต้องทำแล้ว ถ้าใช้ระบบปุ๊บ ตั้งแต่ที่จ่ายยาระบบก็บันทึกแล้วปลายเดือน มาตรวจสอบ ก็ส่งได้เลย นี่เป็นตัวอย่าง

Real Inspire :  ARINCARE ช่วยวางระบบเวชระเบียนในร้ายขายยาด้วยหรือไม่

คุณธีระ : ของเราก็จะเก็บข้อมูล ช่วยเภสัชเก็บเท่าที่ปกติร้านยาจะทำได้ในขอบเขตของเค้า ต้องเรียนว่าร้านยาหรือสาธารณสุขแต่ละที่มีลักษณะการทำงานไม่เหมือนกัน ที่เราทราบกันดีว่าของโรงพยาบาล คุณหมอจะมีแฟ้ม แต่ละหน่วยก็จะต่างกัน ส่วนงานของเรา Target งานของเภสัชกรรมเราจะเน้นหนักไปในบางส่วนมากกว่าตามลักษณะการใช้งานของเค้าแต่ก็จะมีครบอยู่ครับ

Real Inspire : ระบบสต็อคยาที่ยุ่งยากก็จะสะดวกขึ้นด้วย

คุณธีระ  : เรามีฟีเจอร์หลายอย่างช่วยงาน ระบบสต็อคสินค้าใกล้จะหมด หรือใกล้จะหมดอายุ เมื่อก่อนเภสัชกรจะต้องเช็คเอง ตอนนี้ระบบช่วยได้ ในส่วนของผู้ผลิต เราอาจจะไม่ได้คอนเน็คกันโดยตรง อันนี้จะเป็นเรื่องของ Privacy ของข้อมูล เพียงแต่ว่าเราจะมีข้อมูลที่ feed ให้ว่าในปัจจุบันนี้ สถานะของสินค้าตัวนี้เป็นอย่างไรบ้าง ถ้าเค้าต้องการสั่งมาเติม ก็สามารถทำได้เลยผ่านระบบของเราอย่างนี้ครับ ทำได้เหมือนแทบจะเรียลไทม์

Real Inspire : ประธาน J&J ภูมิภาคอาเซียน บอกว่าดิจิทัลจะนำไปสู่คำว่า Healthcare for all

คุณธีระ : ผมเห็นด้วย ที่จริงอรินแคร์เอง มิชชั่นของเราคือการ Make Healthcare for Available ผมคิดว่านี่เป็นทำนองเดียวกันนะครับ เพราะการให้เฮลท์แคร์เข้าถึงทุกคนหรือ Healthcare for all มีกลไกอยู่สองส่วน ส่วนแรกมันต้อง Affordable ก่อน คือเฮลท์แคร์มันต้องไม่แพงเกินไป คนเข้าถึงได้นะครับ ที่เค้าสามารถจ่ายได้ สามารถยอมรับได้ในต้นทุนของเฮลท์แคร์ อันที่สองนะครับ คือต้องให้มัน Acessible คือไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนเค้าควรจะเข้าถึงสิ่งที่ควรจะได้รับได้ บริการพื้นฐานที่ดีได้ ซึ่งอันนี้เป็นพันธกิจของอรินแคร์ สิ่งที่เราทำบนแพลตฟอร์มทั้งหมด ทั้ง 3 องค์ประกอบเนี่ย วนเวียนอยู่กับการทำเรื่องนี้แหละ ที่เราทำเรื่องของแพลตฟอร์มให้เวิร์คโฟลว์มันดีขึ้น ระหว่าง Pharmacist กับ Pharmaceutical เนี่ย ก็เเพื่อทำให้มันลดต้นทุนลงมา มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในส่วนของ Telepharmacy ก็คือทำให้มัน Accessible มากขึ้น ทำอย่างไร ให้ร้านยาที่ปกติแล้วสะดวกอยู่แล้วในชุมชนใช่มั้ยครับในการไปถึง เค้าสามารถเข้าถึงผ่าน Telehealth หรือเทคโนโลยีเข้าถึงได้ง่ายกว่าในช่วงโควิด เป็นต้น เพราะฉะนั้นผมมองเลยว่า “สิ่งนี้เป็นพันธกิจของอรินแคร์ที่เราทำอยู่ เพียงแต่ว่าเราขับเคลื่อนในมุมมองขององค์กร ทำเต็มที่โดยเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ แต่ว่าจะไปได้ Achieve สิ่งที่เราตั้งใจไว้ หรือ Objective ที่เราตั้งใจเอาไว้เนี่ย วันนึงมันต้อง Achieve แน่นอนเลย อันนี้ผมบอกได้ แต่จะเร็วขนาดไหน อยู่ที่ความร่วมมือของภาคส่วนอื่นๆด้วยครับ เพราะเราเองเดินคนเดียวไม่ได้”

ติดตามอ่าน คลิปวิดีโอสัมภาษณ์พิเศษ คุณธีระ กนกกาญจนรัตน์  CEO บริษัท อรินแคร์ จำกัด ผู้นำธุรกิจ Start up และ Health Tech แถวหน้า มาร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ได้ในเวปไซด์ Real-Inspire

#โควิด-19

#ร้านยาชุมชน

#เภสัชชุมชน

#Digital Pharmacy

#Startup

#อรินแคร์